คำถามที่พบบ่อย
ไม่ ทีเส็บเป็นองค์กรสาธารณะที่มีพันธกิจในการส่งเสริมประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการประชุมชั้นนำของเอเชียสำหรับการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติและงานแสดงสินค้านานาชาติ (MICE) โดยจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบริการของเรา
รายละเอียดการติดต่อของเรามีดังนี้:
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ชั้น 25 และ 26 ห้อง A2, B1 และ B2
989 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์: +66 2 694 6000
แฟกซ์: +66 2 658 1411
สายด่วนข้อมูล (เมื่ออยู่ในประเทศไทย): 1105
อีเมล์: info@tceb.or.th
ไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำ หากบริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนแล้ว
ตามกฎข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทต่างชาติที่เป็นลูกจ้าง ตัวแทน หรือเป็นคนกลางในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย จะต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร เนื่องจากได้รับรายได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
หากบริษัทต่างชาติที่ไม่มีตัวแทน หรือเป็นคนกลางในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มีความประสงค์จะจัดการประชุมในประเทศไทย จะต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลให้กับกรมสรรพากรแต่ระยะเวลาพำนักอยู่ในช่วงระยะเวลา 180 วัน หรือน้อยกว่า
บริษัทไม่ต้องจ่ายภาษี อย่างไรก็ตามหากมีผู้เข้าร่วมประชุมคนไทย จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบฟอร์ม ภ.พ.36
ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความของสถานประกอบธุรกิจสำหรับแต่ละประเทศที่ให้การลงทะเบียน
ชาวต่างชาติที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการประชุมนั้น อ้างอิงตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากรไทย ระบุว่ารายได้จากแหล่งที่มาในประเทศไทยต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จ่ายให้กรมสรรพากร (แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90)
บริษัทที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยดังที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ให้คำนิยามไว้ว่า เป็นบริษัทที่มีภูมิลำเนาและการประกอบธุรกิจในประเทศไทย จึงต้องส่งงบการเงินพร้อมแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 และ 51 ไปยังกรมสรรพากร (ข้อบังคับนี้ไม่สามารถใช้กับนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายต่างประเทศ และมุ่งหมายจะจัดประชุมในประเทศไทย)
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายต่างประเทศที่ไม่มีสำนักงานหรือสาขาในประเทศไทย) อาจดำเนินธุรกิจในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว และได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเป็นเวลามากกว่า 1 ปี แต่ต้องน้อยกว่า 3 ปี (เฉพาะในกรณีที่ บริษัท ปฏิบัติตาม ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) บริษัทดังกล่าวจะได้รับการอนุญาตให้ยื่นขอภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวได้โดยยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว (แบบฟอร์ม ภ.พ. 01.2) พร้อมด้วยเอกสารดังต่อไปนี้:
บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือนิติบุคคลต่างประเทศสามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวในประเทศไทยได้
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาได้ที่ไหน
ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงาน หากแต่ต้องส่งแบบฟอร์ม ตท. 10 ในกรณีที่มีการเข้าเมืองหลายครั้งติดต่อกัน โดยจะต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงานแจ้งว่างานนี้ได้รับการพิจารณาในการวางแผนจัดงานล่วงหน้า
สามารถกรอกได้ด้วยตนเองหรือตัวแทน อย่างไรก็ตามคุณจะต้องรับใบอนุญาตด้วยตนเองและลงนามในใบอนุญาตทำงานไทยต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน
ในกรณีที่ชาวต่างชาติเคยเข้ามาในประเทศไทยแล้ว ให้ใช้แบบฟอร์ม ตท.1
ในกรณีที่ไม่เคยเข้ามาในประเทศไทย ผู้จ้าง (หมายถึง โรงแรมที่การประชุมจะจัดขึ้น) จะใช้แบบฟอร์มขอใบอนุญาตทำงาน ตท.3 โดยหลังจากได้รับใบอนุญาตแรงงานต่างชาติ จึงจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเพื่อรับเอาใบอนุญาตทำงาน และสามารถทำงานได้ภายใน 30 วันนับจากวันที่ส่งเอกสาร โดยจะต้องนำหลักฐานแสดงข้อตกลงระหว่างผู้เดินทางและโรงแรม พร้อมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่ระบุไว้ใน ตท.3 โดยหากได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) กระบวนการในการดำเนินการก็จะคล้ายคลึงกัน
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดเข้าไปที่เว็บไซต์ สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว
ใช่ รัฐบาลจะสามารถจ่ายคืนเงินค่าลงทะเบียนตามจำนวนจริงหลังจากได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานภาครัฐ
ผู้จัดงานควรส่งสำเนาตามระเบียบทางการเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการสัมมนาองค์กรจัดงานและเอกสารการประชุมระหว่างประเทศ (2011)
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ แผนกกฎหมายและค่าใช้จ่ายในการบริหาร
นอกประเทศไทย: +66 2 127 7000 (ต่อ 4438)
ภายในประเทศไทย: 02 127 7000 (ต่อ 4438)
สินค้าตามรายการดังนี้:
โปรดทราบว่า การแจกจ่ายสินค้าที่มีโลโก้หรือเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จักและโฆษณาอย่างกว้างขวางนั้น จะไม่ได้รับการยกเว้นจากการชำระภาษี
โปรดเตรียมเอกสารเหล่านี้ให้พร้อม:
ระยะเวลาดำเนินการอย่างน้อย 30 วันทำการก่อนที่สินค้าจะเข้าประเทศไทยชั่วคราว
หน่วยงานของรัฐใดที่ดำเนินการเพื่อยื่นในการนำสินค้าเข้าประเทศไทยชั่วคราว
สินค้าที่นำเข้าและส่งออกนั้นอยู่ภายใต้กฎหมาย ที่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรหรือใบอนุญาตพิเศษจากหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ล่วงหน้าก่อนเดินทางมาถึงประเทศไทย โดยใบอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นจะต้องยื่นเมื่อดำเนินพิธีการศุลกากร รายการสินค้าจำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดต่อมีรายละเอียดดังนี้ :
Category | Relevant Government Agency | |
บุหรี่จำนวนไม่เกิน 200 มวน | กรมสรรพสามิต | |
ซิการ์หรือยาสูบปริมาณไม่เกิน 250 กรัม | ||
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณ 1 ลิตร | ||
อาวุธ, กระสุนปืน, วัตถุระเบิด | กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย | |
พืชพรรณ และกิ่งก้านสาขา | กรมวิชาการเกษตร | |
สัตว์มีชีวิตและซาก | กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช | |
อาหารและยา | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข | |
อะไหล่รถยนต์ | กระทรวงอุตสาหกรรม | |
พระพุทธรูป งานศิลปะ โบราณวัตถุ | กรมศิลปากร | |
อุปกรณ์วิทยุและเครื่องมือการสื่อสาร | สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ |
โปรดตรวจสอบให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวเป็นไปตามกฎดังต่อไปนี้:
ในการดำเนินการจะมีสองวิธีที่คุณสามารถเลือกได้ดังนี้:
รายชื่อทั้งหมดของ 48 ประเทศที่ได้รับการยกเว้นวีซ่านักท่องเที่ยวรวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
รายชื่อทั้งหมดของ 28 ประเทศที่ใช้วีซ่าแบบ Visa-on-Arrival รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
กรุณาเตรียม:
โปรดทราบว่าผู้มาท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยผ่าน Visa-on-Arrival จะไม่สามารถยื่นขอขยายเวลาได้ ยกเว้นในกรณีพิเศษ เช่น ความเจ็บป่วย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็สามารถแจ้งความประสงค์ไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อดำเนินการตรวจสอบและอนุมัติเป็นกรณี ๆ ไป
ตามรายการดังนี้:
90 วัน
30 วัน
14 วัน
รายชื่อทั้งหมดของประเทศจำนวน 48 ประเทศที่ประกาศเป็นพื้นที่ติดเชื้อไข้เหลือง รวมถึงข้อกำหนดการเข้าประเทศที่เกี่ยวข้องสำหรับพลเมืองจากประเทศเหล่านั้นที่มาเยือนประเทศไทย สามารถตรวจสอบได้ที่นี่
ในส่วนของงานแสดงสินค้า ได้ให้บริการในลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลอย่างครบวงจรสำหรับงานอีเวนต์ที่มีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งเราจะสามารถดำเนินการจัดได้ ดังนี้:
ใช่ ทีเส็บจะดำเนินการสนับสนุนผ่านรัฐบาลของไทยเพื่อเสนอสิ่งจูงใจทั้งทางการเงิน และด้านอื่นที่ไม่ใช่ทางการเงินเพื่อผลประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ที่สำคัญในการจัดงานอีเวนต์ของคุณ
ในช่วงก่อนการจัดงาน โปรดกรอกใบสมัครเพื่อขอรับการสนับสนุนอย่างน้อย 3 เดือนก่อนถึงวันงาน โดยจะต้องมีเอกสารตามนี้ :
ทีเส็บจะตรวจสอบใบสมัครและแจ้งกลับถึงคุณสมบัติของคุณ สำหรับการสนับสนุนทางการเงินหรือการสนับสนุนทางอื่นที่ไม่ใช่ทางการเงิน
ในการจัดงาน ทีเส็บจะมอบหมายให้บริษัทอิสระดำเนินการตรวจสอบในสถานที่จริงเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
ภายหลังการจัดงาน คุณจะต้องส่งรายงานที่มีตัวเลขงบประมาณที่ได้รับผ่านตรวจสอบแล้ว เพื่อการคำนวณถึงจำนวนเงินอุดหนุนในขั้นสุดท้าย โดยหลังจากการตรวจสอบรายงานดังกล่าวแล้ว คุณจะได้รับแจ้งการสนับสนุนตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริง
ขั้นตอนสุดท้ายคือการส่งใบแจ้งหนี้ตัวจริงถึง 'สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการไทย' (TCEB) พร้อมจำนวนเงินอุดหนุนที่ได้รับการยืนยันแล้ว การชำระเงินคืนจะดำเนินการภายใน 30 วัน
ในส่วนของการประชุมนานาชาติ ได้ให้บริการในลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลอย่างครบวงจรที่มีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งเรามีการสนับสนุนสองส่วนสำคัญ ได้แก่:
1. การเสนอราคา
2.สนับสนุนในการยืนยันการจัดประชุมต่าง ๆ
หน่วยงานทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่มีความสนใจ และทำหน้าที่ในการวางแผนการจัดประชุมนานาชาติ เช่น สมาคมการค้า ฝ่ายการจัดการประชุม (PCO) หรือ บริษัทรับจัดการธุรกิจไมซ์ (Destination Management Company : DMC) ฯลฯ สามารถสมัครขอรับการสนับสนุน TCEB ผ่านทางหนังสือแจ้งความประสงค์ถึงประธาน ของทีเส็บ
หากคุณให้เวลากับเรามากขึ้น ทีเส็บก็จะสามารถรองรับการประชุมของคุณได้ดีมากขึ้น เมื่อใดก็ตามที่คุณเกิดความสนใจ และมีความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดอีเวนต์ มาพูดคุยกับเรา แล้วเราจะให้คำแนะนำกับคุณในเรื่องการเสนอราคาและการได้รับการสนับสนุนจากองค์กร
ขนาดกลุ่มขั้นต่ำนั้นไม่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การจัดประชุมนานาชาติ จะต้องใช้เวลาในการจัดงานอย่างน้อย 2 วัน และลักษณะของการสนับสนุนนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลักษณะของงาน ผู้เข้าร่วม ระยะเวลาพำนัก โปรแกรม และขนาดของกลุ่ม
ในด้านการจัดการประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ได้ให้บริการในลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลอย่างครบวงจรในการประสานงานเพื่อการประชุมในระดับนานาชาติและรวมถึงการจัดงานที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
โดยเป็นความช่วยเหลือ อย่างเช่น การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม การสร้างทีมกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กิจกรรมแพ็กเกจกอล์ฟและสปาบำบัด รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ
แจ้งความประสงค์อย่างน้อยหนึ่งเดือนก่อนการจัดกิจกรรมการประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ของคุณ โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็น ดังนี้ :
หากหน่วยงานของท่านหรือตัวท่านเอง พิจารณาที่จะเลือกประเทศไทยในการจัดกิจกรรมอีเวนต์ทางธุรกิจครั้งต่อไป สามารถติดต่อเราและแจ้งความประสงค์ของท่านได้ตามนี้ :
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ชั้น 25 และ 26 ห้อง A2, B1 และ B2
989 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์: +66 2 694 6000
แฟกซ์: +66 2 658 1411
สายด่วนข้อมูล (เมื่ออยู่ในประเทศไทย): 1105
อีเมล: info@tceb.or.th
ทางเรามิได้กำหนดขนาดของกลุ่มขั้นต่ำ อย่างไรก็ตาม ประเภทของการสนับสนุนจะสอดคล้องตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลักษณะของอีเวนต์หรือผู้เข้าร่วม, ระยะเวลาที่พำนัก, โปรแกรมของอีเวนต์และขนาดของกลุ่ม
ได้ หากแต่จะต้องเป็นการสนับสนุนที่จะให้ความสำคัญไปยังผลประโยชน์ของผู้ประกอบการในท้องถิ่นก่อน