สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันมีแนวโน้มคลี่คลายลง และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกย่องให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและรับมือการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ ให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข รัฐบาลจึงพิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค โดยออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. การปรับเขตพื้นที่สถานการณ์ และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม
ศบค. มีคำสั่งปรับเขตพื้นที่จังหวัด และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ตามรายละเอียดดังนี้
1) พื้นที่เฝ้าระวังสูง จำนวน 65 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภออุบลรัตน์) จันทบุรี (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่) ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอเทิง อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงแก่น อำเภอเวียงป่าเป้า) ตรัง ตราด (ยกเว้นอำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง) ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครราชสีมา (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอพิมาย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีคิ้ว) นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ (ยกเว้นอำเภอเมือง) ประจวบคีรีขันธ์ (ยกเว้นเทศบาลเมืองหัวหิน เฉพาะตำบลหัวหินและตำบลหนองแก) ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา (ยกเว้นอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอภาชี อำเภออุทัย) พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา ยโสธร ร้อยเอ็ด ระนอง (ยกเว้นเกาะพยาม) ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย (ยกเว้นอำเภอเชียงคาน) ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรปราการ (ยกเว้นพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี (ยกเว้นเกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะสมุย) สุรินทร์ (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอท่าตูม) หนองคาย (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม) หนองบัวลำภู อ่างทอง อุดรธานี (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอบ้านดุง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอหนองหาน) อุทัยธานี อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
2) พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว จำนวน 28 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น (เฉพาะอำเภอ เมือง อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภออุบลรัตน์) จันทบุรี (เฉพาะ อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่) ชลบุรี เชียงราย (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอเทิง อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงแก่น อำเภอเวียงป่าเป้า) เชียงใหม่ ตราด (เฉพาะอำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง) นครราชสีมา (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอพิมาย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีคิ้ว) นนทบุรี บุรีรัมย์ (เฉพาะอำเภอเมือง) ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะเทศบาลเมืองหัวหิน เฉพาะตำบลหัวหินและตำบลหนองแก) พระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอภาชี อำเภออุทัย) พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ยะลา (เฉพาะอำเภอเบตง) ระนอง (เฉพาะเกาะพยาม) ระยอง เลย (เฉพาะอำเภอเชียงคาน) สงขลา สมุทรปราการ (เฉพาะพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) สุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะสมุย) สุรินทร์ (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอท่าตูม) หนองคาย (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม) อุดรธานี (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอบ้านดุง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอหนองหาน)
2. การขยายเวลาบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค
มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/262/T_0001.PDF) และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนด ฉบับที่ 42 ลงวันที่ 21 มกราคม 2565 (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/016/T_0062.PDF) ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มบุคคลที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว และมาตรการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมถึงมาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้เท่าที่ไม่ขัดแย้งกับข้อกำหนดนี้
ในส่วนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งตามความเหมาะสม
3. ปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว
ให้พื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ดำเนินตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพื่อการเปิดสถานที่ กิจการ และกิจกรรมสำหรับพื้นที่ที่จำแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวังสูงและเขตพื้นที่เฝ้าระวังตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 และ ข้อ 4 ของข้อกำหนด ฉบับที่ 42 ลงวันที่ 21 มกราคม 2565 (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/016/T_0062.PDF) โดยให้ปรับมาตรการควบคุมการดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้เปิดให้บริการได้เฉพาะร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA PLUS ขึ้นไป หรือผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID - 19 รองรับ สุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop COVID 2 Plus ) หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) และให้ดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกิน 24.00 น. โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณามาตรการควบคุมเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
มาตรการในกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
1) การดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน เปิดให้บริการได้เฉพาะร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA PLUS ขึ้นไป หรือผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID - 19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop COVID 2 Plus) เท่านั้น และให้ดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกิน 24.00 น.
2) การให้บริการเพื่อการจัดประชุม สัมมนาหรือการจัดงานในโรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้ปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) และดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กำหนด โดยอนุญาตให้มีการดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานได้เฉพาะสถานที่ที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA PLUS ขึ้นไป หรือผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID - 19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop COVID 2 Plus) เท่านั้น และให้ดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานได้ไม่เกิน 24.00 น.
สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมงานให้พิจารณาตามความเหมาะสมของสถานที่ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 45 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ข้อ 6 (https://www.prbangkok.com/th/covid/detail/19/6041) คือ ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนมากกว่า 1,000 คน เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุญาตจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร หรือเป็นไปตามข้อยกเว้นของข้อกำหนดฉบับที่ 37 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/262/T_0001.PDF)
3) สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขแล้ว และต้องการที่จะปรับรูปแบบสถานที่ให้เป็นร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มให้ขออนุญาตต่อสำนักงานเขตเพื่อตรวจสอบประเมินความพร้อมในด้านต่าง ๆ ก่อนเปิดให้บริการภายใต้การกำกับของเจ้าหน้าที่ ในส่วนของการดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ดังกล่าวให้ดำเนินการตามข้อ 1 ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวฉบับที่ 49 ลงวันที่ 8 มกราคม 2565 (https://www.prbangkok.com/th/covid/detail/19/8922) คือ สถานที่หรือสถานประกอบการดังกล่าวต้องผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA PLUS ขึ้นไป หรือตามมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID - 19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop COVID 2 Plus) เท่านั้น และให้ดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกิน 21.00 น.
4) โรงภาพยนตร์ เปิดดำเนินการได้โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
5) สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม ร้านทำเล็บ ร้านสัก เปิดบริการได้โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยกำหนดเงื่อนไขสำหรับร้านสักที่ให้บริการได้เฉพาะผู้ที่แสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือมีหลักฐานการตรวจ RT-PCR หรือผลตรวจ ATK ภายใน 72 ชั่วโมงว่าไม่พบเชื้อโรคโควิด 19
6) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือสถานประกอบการนวดแผนไทย เปิดบริการได้โดยปฏิบัติตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยกำหนดเงื่อนไขเฉพาะการให้บริการที่ใช้น้ำเพื่อสุขภาพในกิจการสปา ที่ผู้ใช้บริการต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือมีหลักฐานการตรวจ RT-PCR หรือผลตรวจ ATK ภายใน 72 ชั่วโมงว่าไม่พบเชื้อโรคโควิด 19
กรณีนอกเหนือจากนี้ยังต้องดำเนินตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 51 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2565 (https://www.prbangkok.com/th/covid/detail/19/11163)
4. ปรับปรุงการกำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้าประเทศ
เพื่อประโยชน์ในการคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
ให้ใช้การแบ่งประเภทผู้เดินทางเข้าประเทศตามรายละเอียดดังนี้
1)
ผู้เดินทางเข้ามาในประเทศซึ่งแสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด
19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Vaccinated Persons)
2)
ผู้เดินทางเข้ามาในประเทศซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด
19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Unvaccinated / Not Fully Vaccinated Persons)
3)
ผู้มีเหตุยกเว้นที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด
อนุญาต หรือเชิญเข้ามาในประเทศตามความจำเป็นข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศ
โดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ https://tp.consular.go.th