สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันมีแนวโน้มคลี่คลายลง สอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลกที่หลายประเทศได้เริ่มผ่อนคลายเปิดประเทศควบคู่กับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยจึงได้มีข้อกำหนดและคำสั่ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ดังต่อไปนี้
1. การปรับเขตพื้นที่สถานการณ์ และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีคำสั่งปรับเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ดังนี้
1) พื้นที่เฝ้าระวังสูง จำนวน 46 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอเขาสวนกวางอำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภออุบลรัตน์) ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา (ยกเว้นอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอภาชี อำเภออุทัย) พัทลุง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา (ยกเว้นอำเภอเบตง) ร้อยเอ็ด ระนอง (ยกเว้นเกาะพยาม) ราชบุรี ลพบุรี ลำพูน เลย (ยกเว้นอำเภอเชียงคาน) ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรปราการ (ยกเว้นพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี หนองคาย (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม) หนองบัวลำภู อุทัยธานี อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี
2) พื้นที่เฝ้าระวัง จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท ตราด (ยกเว้นอำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง) นครพนม น่าน บุรีรัมย์ (ยกเว้นอำเภอเมืองบุรีรัมย์) พิจิตร มหาสารคาม ยโสธร ลำปาง สุราษฎร์ธานี (ยกเว้นเกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะสมุย) สุรินทร์ (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอท่าตูม) อ่างทอง อุดรธานี (ยกเว้นอำเภอเมือง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอบ้านดุง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอหนองหาน) อำนาจเจริญ
3) พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว จำนวน 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภออุบลรัตน์) จันทบุรี ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตราด (เฉพาะอำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง) นครราชสีมา นนทบุรี นราธิวาส บุรีรัมย์ (เฉพาะอำเภอเมือง) ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอภาชี อำเภออุทัย) พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ยะลา (เฉพาะอำเภอเบตง) ระนอง (เฉพาะเกาะพยาม) ระยอง เลย (เฉพาะอำเภอเชียงคาน) สงขลา สมุทรปราการ (เฉพาะพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) สุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน เกาะสมุย) สุรินทร์ (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอท่าตูม) หนองคาย (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม) อุดรธานี (เฉพาะอำเภอเมือง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอบ้านดุง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอหนองหาน)
2. การขยายเวลาบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค
มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 และข้อกำหนด ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 29 เมษายน 2565 ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มบุคคลที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว การปรับปรุงมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวังและพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว และการปรับปรุงการกำหนดผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รวมถึงมาตรการ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้เท่าที่ไม่ขัดแย้งกับข้อกำหนดนี้
3. มาตรการควบคุมและป้องกันโรคสำหรับสถานบริการ หรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วประเทศ
สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะหรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกันทั่วประเทศ ยังคงต้องปิดดำเนินการไว้ก่อน ยกเว้นสถานที่ดังกล่าวที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เฝ้าระวัง และเขตพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ซึ่งผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID-19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop COVID 2 Plus) แล้ว และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด สามารถเปิดให้บริการได้ โดยผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) และต้องกำกับดูแลบุคลากรผู้ให้บริการ และผู้เข้ารับบริการให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข และมาตรการป้องกันโรคต่าง ๆ ดังนี้
1) การเปิดให้บริการจำหน่าย และดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในร้าน สามารถทำได้ไม่เกินเวลา 24.00 น. โดยงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความแออัด
2) ผู้ประกอบการต้องจัดการให้บุคลากรในความรับผิดชอบได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) แล้ว และหากเป็นการบริการสัมผัสใกล้ชิดต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยในทุกสัปดาห์ให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด 19 โดยใช้ชุดตรวจแบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตัวเอง (ชุดตรวจ ATK) รวมทั้งประเมินความเสี่ยงผ่านแอปพลิเคชันไทยเซฟไทย (Thai Save Thai)
3) ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตรวจคัดกรองผู้ใช้บริการ โดยให้บริการเฉพาะผู้ใช้บริการที่แสดงหลักฐานว่าได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดและได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) แล้วเท่านั้น และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) ผู้ที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ที่จะมีอาการรุนแรงมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต (กลุ่ม 608) ให้เลี่ยงการใช้บริการในสถานที่ดังกล่าว
4. การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
1) ผู้มีสัญชาติไทย
2) ชาวต่างชาติ
ข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศ
https://tp.consular.go.th/home
สามารถตรวจสอบประกาศและมาตรการของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด
อ้างอิง
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/120/T_0050.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/120/T_0053.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/120/T_0054.PDF
https://www.prbangkok.com/th/covid/detail/19/13307
###
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากองค์การอนามัยโลก
https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports
ศูนย์ข้อมูลกรมควบคุมโรคติดต่อ โทร 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ โทร +66 (0) 2694 6000
https://www.businesseventsthailand.com/en/situation-update-coronavirus-covid-19 หรือ info@tceb.or.th