รายงานสถานการณ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
เรื่อง การปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วันที่ 21 เมษายน 2564
เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จากการติดเชื้อในประเทศเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติ เพื่อสกัดกั้นและระงับสถานการณ์การระบาดดังต่อไปนี้
การห้ามดำเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วประเทศ
ให้ผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ดำเนินการพิจารณาสั่งปิดสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่ที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้สั่งปิดเป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน
การกำหนดพื้นที่สถานการณ์
เพื่อบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามพื้นที่ดังนี้
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุดรธานี รวม 18 จังหวัด โดยมีมาตรการควบคุมสำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม อย่างน้อย 14 วัน ดังนี้
1.1 ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 21:00 น. และจำหน่ายเพื่อนำไปบริโภคที่ อื่นได้ถึงเวลา 23:00 น.
1.2 ห้ามบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
1.3 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกัน เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติจนถึง 21:00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย งดบริการตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก
1.4 ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติแต่ไม่เกิน 23:00 น. ร้านที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง ให้เปิดบริการได้ในเวลา 04:00 น.
1.5. สนามกีฬา หรือสถานออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส เปิดให้บริการได้ไม่เกิน 21:00 น. จัดการแข่งขันได้โดยจำกัดจำนวนผู้เข้าชมในสนาม
ได้แก่ จังหวัดอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด รวม 59 จังหวัด โดยมีมาตรการควบคุม สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม อย่างน้อย 14 วัน ดังนี้
2.1 จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และบริโภคภายในร้านได้ไม่เกิน 23:00 น.
2.2 ห้ามบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
2.3 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกัน เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติจนถึง 21:00 น. โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย งดบริการตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก
การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง
ขอความร่วมมืองดหรือชะลอการเดินทางโดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดตั้งจุดสกัดหรือจุดคัดกรองตามความจำเป็นและเหมาะสมโดยไม่เป็นการเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรกว่าเหตุ ให้กระทรวงคมนาคมตรวจสอบ กำกับ ดูแลการให้บริการขนส่งสาธารณะทุกประเภทให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติที่ ศปก.ศบค. กำหนด
การจัดกิจกรรมทางสังคม
งดงานสังสรรค์ งานเลี้ยง หรืองานรื่นเริง ยกเว้นการจัดพิธีการตามประเพณีนิยม และมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอ
การดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
ขอความร่วมมือเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณารูปแบบการปฎิบัติงานของบุคลากรนอกสถานที่ สลับวันทำงาน หรือวิธีการที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดหาสถานที่เพื่อใช้เป็นที่รับรอง ดูแล แยกกัก หรือกักกันผู้ติดเชื้อ โดยขอความร่วมมือจากสถานศึกษา มหาวิทยาลัย โรงแรม หอประชุม สถานที่ของเอกชน หรือสถานที่อื่นที่มีความเหมาะสม ให้ผู้ติดเชื้อรีบแจ้งต่อเจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ทันทีเมื่อพบว่าตนติดเชื้อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อ เพื่อรับทราบแนวปฏิบัติและเข้ารับการแยกกัก หรือกักกัน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่จะเข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอน และให้ผู้ติดเชื้อทุกรายเข้ารับการตรวจรักษาและแยกกัก หรือกักกันในสถานที่ตามระยะเวลาที่เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกำหนดจนกว่าจะได้ตรวจทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อของโรค หรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค
การประเมินความเหมาะสมของมาตรการ
ให้ ศปก.ศบค. พิจารณาประเมินสถานการณ์เพื่อการปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุม รวมทั้งแนวปฏิบัติได้ตามความเหมาะสม และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาต โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาจพิจารณาดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ พาหนะ หรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
จากข้อกำหนด ฉบับที่ 20 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรม การโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จึงมีประกาศการสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 24) โดยมีมาตรการที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมไมซ์ ดังนี้
การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น การประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่างๆในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ดำเนินการโดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 50 คน กรณีเกิน 50 คน แต่ไม่เกิน 1,000 คน ให้ขออนุญาตยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักงานเขตพื้นที่ก่อนจัดงาน กรณีเกิน 1,000 คน ให้ขออนุญาตโดยยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ก่อนจัดงาน เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค
สามารถตรวจสอบประกาศและมาตรการของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด
อ้างอิง http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/082/T_0025.PDF
http://www.bangkok.go.th/main/page.php?&140-News&type=detail&id=779
###
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากองค์การอนามัยโลก
https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports
ศูนย์ข้อมูลกรมควบคุมโรคติดต่อ โทร 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ โทร +66 (0) 2694 6000
https://www.businesseventsthailand.com/en/situation-update-coronavirus-covid-19 หรือ info@tceb.or.th