ประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมโยงประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชีย และมีเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างประเทศ มีการถ่ายเทสินค้า บริการ ฝีมือแรงงาน และการค้าการลงทุนระหว่างกัน ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่อาเซียนและเอเซีย และเป็นประเทศฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญในอุตสาหกรรมหลักของโลก อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และไอที เป็นต้น
กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถานการณ์ส่งออกในเดือนเมษายน 2565 ไทยทำตัวเลขส่งออกได้อยู่เหนือระดับ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ 14 ที่ตัวเลข 9.9% เมี่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การส่งออกไทย 4 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 13.7 และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 8.2 ชี้ให้เห็นว่า การส่งออกยังเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
แผนส่งเสริมการส่งออกเชิงรุก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกด้านการส่งออกของผู้ประกอบการไทย ได้แก่ การปลดล็อกอุปสรรคการส่งออกสินค้าผลไม้ไปจีน การฟื้นฟูตลาดซาอุดีอาระเบีย การส่งเสริมการค้าที่มีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงบริบททางการค้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการค้ากับสหภาพยุโรป และการเร่งรัดการเจรจาจัดทำ FTA และ Mini-FTA เพื่อเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทย
คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ในเดือนเมษายน 2565 ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 50 ราย โดยลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 20 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 30 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 9,997 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 592 คน
ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ อันเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อาทิ กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ด้านการธนาคาร ด้านการเงิน และด้านการประกันภัย
การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน ให้ความสำคัญกับ
2. การเข้าถึงได้สะดวก (Easy Access)
ประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของเอเชีย มีความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคระดับมาตรฐาน มีสนามบินทั่วประเทศจำนวน 38 สนามบิน โดยมี 7 สนามบินนานาชาติ พร้อมกันนี้ยังมีศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าทั้งหมดอีก 9 แห่ง และมีไมซ์ซิตี้จำนวน 10 เมือง ได้แก่ กรุงเทพ ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา พิษณุโลก พัทยา ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และอุดรธานี ที่สามารถเพิ่มทางเลือกในการจัดกิจกรรมไมซ์ได้หลากหลายรูปแบบตามลักษณะโดดเด่นของพื้นที่
องค์การอนามัยโลกยกไทยเป็นประเทศต้นแบบในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้าในเอเชีย เป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นๆ ได้ถอดบทเรียนเพื่อนำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศตนเอง ชี้ไทยประสบความสำเร็จโดย 5 ปัจจัย ได้แก่
โครงการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดโฉมใหม่ สู่การเป็น “The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All” ที่ครอบคลุมการจัดงานทุกรูปแบบ โดยเพิ่มพื้นที่จากเดิม 25,000 ตารางเมตร เป็น 300,000 ตารางเมตร พร้อมเปิดบริการเดือนกันยายน 2565 ในฐานะสถานที่จัดงานที่ได้รับเลือกเป็นสถานที่จัด “งานประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซียแปซิฟิก หรือ APEC 2022” ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในเดือนพฤศจิกายน
ทั้งนี้ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ ประเดิมจัดงานแรก คือ สุดยอดงานมหกรรมเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งาน “Thailand Game Show 2022” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Come Back” ระหว่างวันที่ 21 ถึง 23 ตุลาคมนี้ โดยความพิเศษของปีนี้ คือ การเปิด 2 โซนใหม่ ได้แก่ โซน NFT Game & Metaverse กับความล้ำสมัยของโลกเสมือนจริง ที่กำลังมาแรงขณะนี้ และโซน Business Matching รองรับกลุ่มบริษัท Game Publisher ผู้พัฒนาเกม สื่อเกม และเอเจนซี่เกม ทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมเกมรวมตัวกันในที่เดียว ช่วยเพิ่มโอกาสและช่องทางการเติบโตของธุรกิจ
เครดิตภาพ: QSNCC
โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน สายกรุงเทพฯ -หนองคาย มีเป้าหมายเพื่อทดแทนระบบรถไฟชานเมืองและรถไฟสายต่าง ๆ พร้อมเชื่อมต่อภาคธุรกิจเข้ากับตัวเมืองอย่างรวดเร็ว เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางของประเทศกลุ่มซีเอ็มแอลวี คือ จีน มาเลเซีย ลาวและเวียดนามเข้ากับไทย อันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันมากขึ้น
กระทรวงคมนาคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายทางระบบรางที่ช่วยกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาค และโอกาสผลักดันเม็ดเงินการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจแก่ประชาชนทุกระดับผ่านนโยบาย “Thai First” กำหนดให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตภายในประเทศให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการสร้างงานให้คนไทยและต่อยอดให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประทศ ลดภาระงบประมาณที่ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนโครงการ 100% ทำให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ เช่น กำหนดรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงข่ายหลักในการขนส่งผู้โดยสาร
3. การพัฒนาในประเทศไทย (New Development)
ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ผู้นำด้านคมนาคมขนส่ง เปิดตัว 4 เทคโนโลยีดิจิทัล “ไฮสปีด บิ๊กดาต้า กรีนโมบิลิตี้” เพื่อยกระดับระบบทางรางของไทยเทียบสู่ระดับสากลต้อนรับยุค 5G ในงาน Asia Pacific Rail 2022 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยนำโครงการรถไฟทางคู่ สายจิระ-ขอนแก่น เป็นต้นแบบนำร่อง 4 นวัตกรรมไฮไลท์ที่ตอบโจทย์กับบริบทเมืองและเศรษฐกิจ ที่สามารถรองรับการเดินทางหลายประเภท พร้อมช่วยผลักดันให้ขนส่งระบบรางของไทยเทียบชั้นระดับโลก
“ท่าเรือท่าช้าง – สาทร” ท่าเรืออัจฉริยะ SMART PIER SMART CONNECTION
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา
เศรษฐกิจสังคม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับนานาชาติ ตลอดจนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีความสะดวก ปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
กระทรวงคมนาคม กำหนดแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - 2567 ที่จะพัฒนาท่าเรือ จำนวน 29 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงามตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design)
มีระบบการให้บริการที่ทันสมัย นอกจากนั้นยังได้ส่งเสริมให้มีเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน อีกทั้งมีส่วนส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างรายได้ให้กับประเทศ และเมื่อพัฒนาท่าเรือแล้วเสร็จตามแผน จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 53,000 คนต่อวัน ในปี พ.ศ. 2570
จากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 2 วันที่ 9 ถึง 12 พฤษภาคม 2565 ไทยได้ร่วมผลักดันการประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ภายใต้หัวข้อ “พลเมืองยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รู้รอบดิจิทัล” สอดคล้องกับหัวข้อหลักการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” มุ่งยกระดับคุณภาพแรงงาน การศึกษา และการคุ้มครองทางสังคม ผ่านการทำงานของ 3 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายด้านการเสริมสร้างสมรรถนะ เครือข่ายด้านการศึกษา และเครือข่ายแรงงานและการคุ้มครองทางสังคม ใน 3 ประเด็นสำคัญ